วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

มาตรฐานการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย

มาตรฐานการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย

              การกำหนดมาตรฐานของอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ในยุคแรก ๆ จะมุ่งเน้นถึงคำสั่งการ ทำงาน ภายใน และการเชื่อมต่ออุปกรณ์พื้นฐานต่าง ๆ ก่อให้ระบบเกิดคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า ระบบปิด( Closed System ซึ่งหมายความว่า ในระบบนี้จะมีการติดต่อสื่อสารได้ เฉพาะเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่มาจาก ผู้ผลิต เดียวกัน หรือถ้าบริษัทอื่นเข้ามาร่วมในการสื่อสารด้วย ก็ต้องพยายามทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ผลิตขึ้น มีลักษณะ ที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันกับ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการติดต่อให้มากที่สุดหรือที่เรียกว่า PLug Compatible System

              ต่อเนื่องจากได้เล็งเห็นข้อเสียของระบบปิดแล้ว องค์กรต่าง ๆ ก็ได้มุ่งเน้นให้กำหนดมาตรฐาน สำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่จะนำ ต่อเชื่อมกับโครงข่ายสาธารณะ และมีการกำหนดมาตรฐาน เอาไว้ หลาย ลักษณะ ดังต่อไปนี้คือ

             1. V-Series Recommendations เป็นการกำหนดมาตรฐานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น Modem ซึ่งจะ นำมาเชื่อมต่อกับระบบโทรศัพท์ (PSTN-Public Switched Telephone Network) หรือที่มักจะเรียก ระบบนี้ว่า Data Termanl Equipment (DTE)

            X-Series Recommedations เป็นการกำหนดมาตรฐานการเชื่อมต่ออุปกรณ์ DTE กับ โครงข่าย สื่อสาร ข้อมูลสาธารณะ (PSDN-Public Switched Data Network)

             I-Sereis Recommendations เป็นการกำหนดมาตรฐานการเชื่อมต่ออุปกรณ์ DTE กับ โครงข่าย สื่อสารร่วมระบบดิจิตอล (IDN-Intergated Service Digital Network

             ผลการกำหนดมาตรฐานดังกล่าวข้างต้น ทำให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ถูกออกแบบมา ให้มีความ คล้ายคลึงกัน และสามารถทำงานทดแทนกันได้ ซึ่งมีผลทำให้ผู้ซื้อสามารถเลือกอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้จากผู้ขาย จำนวนมากมายขึ้น

             ในระยะแรกบริการโครงส่ายสื่อสารสาธารณะ จะมุ่งเน้นด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง เครือ ข่าย เท่านั้น ซึ่งก็ทำให้มาตรฐานต่าง ๆ ถูกกำหนดขึ้นโดย เน้นในด้านของการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าสู่ระบบ เครือข่ายนั้น ๆ แต่ต่อมาระบบเครือข่ายสาธารณะก็ได้เริ่มขยายการให้บริการข้อมูล เช่น การบริการแลกเปลี่ยนการให้บริการแลกเปลี่ยนข้อความทางอิเล็คทรอนิส์การให้บริการ               เพื่อที่จะทำให้บริการต่าง ๆ เหล่านี้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงได้มีการกำหนดมาตรฐาน ซึ่ง ไม่เพียง พอแต่ครอบคลุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะนำมาเชื่อมต่อเข้า กับระบบดังกล่าวแต่งยัง คงครอบ คลุมถึงรูปแบบ ( Syntax) ของข้อมูล ที่จะนำเข้าสู่ระบบการแลกเปลี่ยนผ่านทางเครือข่ายด้วย ซึ่งผล ของ การ กำหนดมาตรฐาน นี้ ทำให้อุปกรณ์จากผู้ผลิตหนึ่งสามารถที่จะนำมาใช้แลกเปลี่ยนหรือทดแทนกันได้ กับอุปกรณ์จากผู้ผลิตอื่น ๆ ที่ได้ผลิตขึ้นตามมาตรฐานเดียวกัน

           จุดมุ่งหมายของ ISO Reference Model คือ การกำหนดโครงร่าง สำหรับสำหรับ การกำหนด มาตรฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบ เพื่อให้มาตรฐานเดิม ที่มีอยู่กับมาตรฐานอื่น ๆ ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้อง ได้ดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน หรืออีกนัยหนึ่งคือ การอนุญาตให้โปรแกรมใช้งานต่างๆ ในคอมพิวเตอร์ที่ ดำเนินการตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ ได้ดำเนินการติดต่อกับโปรแกรมที่อยู่ในคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ที่อยู่ภาย ใต้มาตรฐานเดียวกัน ได้โดยอิสระโดยไม่ต้องคำนึง ถึงว่าโปรแกรมนั้นจะมาจากบริษัทผู้ผลิตใด

            ตัวอย่างโปรแรมต่าง ๆ ที่ต้องมีการติดต่อสื่อสารโดยวิธีการของระบบเปิด ได้แก่

            1. โปรแกรมที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น แล้วนำประมวลผลในเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่โปรแกรมนั้นอยู่

             2. โปรแกรมที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นตัวบริการฐานข้อมูล (Server) สำหรับโปรแกรมอื่น ๆ ใน ระบบ ประมวลผลแบบกระจาย (Distribued)

              3.โปรแกรมที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเครือข่ายแล้วต้องการใช้บริการจดหมายอิเล็คทรอนิกส์

               4. โปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง การให้บริการจดหมายอิเล็คทรอนิกส์แก่โปรแกรมอื่น ๆ ในระบบการประมวลผลแบบกระจาย (Distributed)

                5. โปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมโปรแกรมอื่น ในงานเกี่ยวกับการควบคุมเครื่องจักรกล หรือ อุปกรณ์ ที่ ใช้ในคอมพิวเตอร์

                6. โปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมเครื่องจักรกลหรืออุปกรณ์ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ขณะกำลัง รับ สั่ง จากโปรแกรมควบคุมอีกชั้นหนึ่ง

                 7. โปรแกรมที่อยู่ศูนย์กลางธนาคาร ขณะทำหน้าที่ปรุงยอดบัญชีของลูกค้า ที่อยู่ในเครื่อง คอมพิวเตอร์ใน เครือข่ายระยะไกลความหมายของ ISO จะอยู่ที่การแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่าง โปรแกรม ต่าง ๆ เหล่านั้นโดยจะอำนวยความสะดวกให้แต่ละโปรแกรมให้สามารถรับ - ส่งข้อมูลที่ต้องการได้ โดยไม่ต้อง คำนึงถึงว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ที่กำลังประมวลผลนั้นมีลักษณะทาง Hardware เช่นใด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น