วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

พื้นฐานการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย


บทที่ 1
พื้นฐานการสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย
(Fundamental of Data Communications and Networks)
วัตถุประสงค์เพื่อ
  1. บอกความหมายและส่วนประกอบของการสื่อสารข้อมูลได้อย่างถูกต้อง
  2. สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมมาประยุกต์ใช้งานได้อย่างเหมาะสม
  3. บอกความหมายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์และประโยชน์ของเครือข่ายได้
  4. เปรียบเทียบความแตกต่างของประเภทเครือข่าย LAN, MAN และ WAN ได้
  5. เห็นความสำคัญของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีต่อรูปแบบธุรกิจและการดำรงชีวิตในปัจจุบันได้
  6. มีความเข้าใจและมองเห็นภาพของการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในลักษณะต่าง ๆ

ความหมายของการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูล เป็นกระบวนการถ่ายโอนข้อมูล/สารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข่าวสารผ่านสื่อกลาง เพื่อส่งไปยังจุดหมายปลายทางที่ต้องการ
ส่วนประกอบของระบบการสื่อสารข้อมูล (Components of Data Communication System)
  1. ข่าวสาร (Message) ข้อมูลหรือสารสนเทศที่อาจเป็นข้อความ ตัวเลข เสียง และวิดีโอ
  2. ผู้ส่ง (Sender/Source) อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับส่งข่าวสาร เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์
  3. ผู้รับ (Receiver/Destination) อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับข่าวสาร เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์
  4. สื่อกลางส่งข้อมูล (Transmission Medium) เช่น สายไฟเบอร์ออปติก หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น
  5. โพรโทคอล (Protocol) กลุ่มของกฎเกณฑ์และข้อปฏิบัติต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นมา เพื่อนำมาใช้เป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับเพื่อให้การสื่อสารบรรลุผล
การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication)
การสื่อสารโทรคมนาคม หมายถึง การสื่อสารระยะไกล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการแลกเปลี่ยนสารสนเทศ เกี่ยวข้องกับการใช้งานเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Transmitters) เช่น โทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือคอมพิวเตอร์ ซึ่งระบบการสื่อสารโทรคมนาคมในยุคปัจจุบันถือว่ามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศชาติเป็นอย่างมาก โดยจะพบว่าประเทศที่พัฒนาแล้วล้วนแต่มีระบบการสื่อสารโทรคมนาคมที่ก้าวหน้าและทันสมัย ที่มีส่วนสำคัญต่อการผลักดันธุรกิจต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจโลกในยุคนี้ทีเดียว

ความหมายของเครือข่าย
ในส่วนของ “เครือข่าย” หมายถึง เครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงกันในระยะใกล้ภายในพื้นที่เดียวกัน (Local) กับเครือข่ายที่เชื่อมโยงแบบระยะไกล (Remote) โดยเฉพาะเครือข่ายที่เชื่อมโยงแบบระยะไกลนั้น จำเป็นต้องพึ่งพาช่องทางการสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อให้สามารถส่งข้อมูลระยะไกลได้
ตัวอย่างของการสื่อสารโทรคมนาคม
-          โทรเลข (Telegraphy)
-          โทรสาร (Facsimile)
-          โทรศัพท์ (Telephone)
-          โทรทัศน์ (Television)
-          วิทยุกระจายเสียง (Radio)
-          ไมโครเวฟ (Microwave)
-          ดาวเทียม (Satellite)
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Networks)
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ การนำกลุ่มคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ มาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย โดยใช้สื่อกลางซึ่งเป็นสายเคเบิลหรือคลื่นวิทยุเป็นเส้นทางการลำเลียงข้อมูลเพื่อสื่อสารระหว่างกัน และการที่เครือข่ายสามารถเชื่อมโยงกันเป็นหนึ่งเดียวได้ก็เพราะระบบปฏิบัติการเครือข่าย ซึ่งจัดเป็นซอฟต์แวร์ระบบที่สำคัญที่นำมาใช้เชื่อมโยงอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์เข้าด้วยกัน และทำหน้าที่บริหารจัดการทรัพยากรบนเครือข่ายอย่างเป็นระบบ ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้งานทรัพยากรร่วมกันบนเครือข่ายได้อย่างสะดวก
ก่อนจะเป็นเครือข่าย
Sneaker หมายถึง รองเท้าของบุคคลที่เดินไปคัดลอกสำเนาข้อมูล ดังนั้น Sneaker จึงหมายถึงเครือข่ายที่ใช้บุคคลในการเดินเท้าเพื่อถ่ายโอนข้อมูลนั่นเอง อย่างไรก็ตาม Sneakernet นั้นเป็นคำเปรียบเปรยเชิงล้อเล่นมากกว่าที่จะนำไปใช้เป็นศัพท์เชิงทางการ
ประโยชน์ของเครือข่าย
  1. การใช้ทรัพยากรร่วมกัน
  2. ช่วยลดต้นทุน
  3. เพิ่มความสะดวกในด้านการสื่อสาร
  4. ความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยของระบบ

ประเภทของเครือข่าย (Categories of Networks)
เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network: LAN)
เครือข่ายท้องถิ่นเป็นเครือข่ายส่วนบุคคล ที่มีการลิงค์เชื่อมโยงระหว่างพีซีคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เพื่อการใช้งานร่วมกัน เครือข่ายท้องถิ่นอาจมีเพียงพีซีคอมพิวเตอร์เพียง 2 เครื่องเพื่อใช้งานตามบ้านเรือน หรือเชื่อมโยงพีซีคอมพิวเตอร์เป็นร้อยเครื่องสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ โดยจะครอบคลุมระยะทางไม่กี่กิโลเมตร
เครือข่ายท้องถิ่นหรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า เครือข่ายแลน นั้น ได้รับการออกแบบมาเพื่ออนุญาตให้สามารถแชร์ทรัพยากรบนเครือข่ายร่วมกันได้ เช่น การแชร์ข้อมูล โปรแกรม และเครื่องพิมพ์ เป็นต้น
เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network: MAN)
เป็นเครือข่ายที่มีขนาดระหว่างเครือข่ายแลนและเครือข่ายแวน ซึ่งปกติจะครอบคลุมพื้นที่ภายในเมืองหรือจังหวัด โดยเป็นเครือข่ายที่ออกแบบมาเพื่อให้ลูกค้าสามารถเชื่อมต่อใช้งานเพื่อการสื่อสารความเร็วสูง
เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network: WAN)
เครือข่ายระดับประเทศหรือเครือข่ายแวนสามารถส่งผ่านข้อมูลได้ระยะไกล  สามารถสื่อสารข้ามประเทศหรือข้ามทวีปได้ เครือข่ายแวนอาจมีสายแกนหลักจำนวนมากกว่าหนึ่งเส้นที่นำไปใช้เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต
นอกจากขนาดของเครือข่ายที่สามารถเชื่อมโยงได้ไกลข้ามประเทศอย่างเครือข่ายแวนแล้ว สื่อส่งข้อมูลที่ใช้ในเครือข่ายแวนก็มีหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นสายโทรศัพท์ สายเคเบิล รวมถึงการสื่อสารผ่านดาวเทียม เป็นต้น
อินเทอร์เน็ต (The Internet)
อินเทอร์เน็ตจัดเป็นเครือข่ายสาธารณะ (Public Network) ที่ได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนเนชีวิตปัจจุบันของมนุษย์ในยุคนี้ จึงทำให้รูปแบบธุรกิจเดิมที่เคยดำเนินการอยู่ จำเป็นต้องเปลี่ยนรูปแบบด้วยการใช้ช่องทางการจำหน่ายผ่านอินเทอร์เน็ตเพื่อสร้างทางเลือกและความสะดวกในด้านการบริการแก่ลูกค้า โดยลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าหรือบริการผ่านทางเว็บไซต์ ทั้งนี้มิได้จำกัดเพียงลูกค้าภายในประเทศ แต่นั่นหมายถึงลูกค้าทั่วโลกที่สามารถเข้าใช้บริการนี้ผ่านทางเว็บไซต์
อินเทอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายที่หลากหลาย ดังนั้นอุปกรณ์ที่เรียกว่า เร้าเตอร์ (Router) จึงถูกนำมาใช้เพื่อการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายเข้าด้วยกัน เร้าเตอร์จัดเป็นอุปกรณ์สำคัญของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทีเดียว เพื่อใช้สำหรับกำหนดเส้นทางบนเครือข่าย
นอกจากนี้ระบบคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น มีค่อนข้างหลากหลายและอาจมีแพลตฟอร์ม (Platform) ที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านสถาปัตยกรรมของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ก็ตาม เมื่อเป็นเช่นนี้อุปกรณ์อย่าง เกตเวย์ (Gateway) จึงถูกนำมาใช้งานเพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีระบบแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงสามารถสื่อสารร่วมกันเป็นเครือข่ายเดียวกันได้
การเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์
(Computer Networks-Basic Configurations)
ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในมุมมองเชิงกายภาพ ที่แสดงให้เห็นถึงการเชื่อมต่อในลักษณะต่าง ๆ และโดยปกติเราสามารถพบเห็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อในมุมมองต่าง ๆ ได้จากการสังเกตตามองค์กรหรือหน่วยงาน หรือจากการใช้งานประจำวันไม่ว่าจะที่บ้าน สำนักงาน หรือสถาบันการศึกษา โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่าง ๆ มีดังนี้
1.      ไมโครคอมพิวเตอร์กับเครือข่ายท้องถิ่น (Microcomputer-to-LAN Configurations)
เราสามารถพูดได้ว่าในปัจจุบันนี้ การเชื่อมต่อไมโครคอมพิวเตอร์ในรูปแบบของเครือข่ายท้องถิ่นนั้น สามารถพบเห็นได้ตามสำนักงานทั่วไป ทั้งนี้เครือข่ายท้องถิ่นจัดเป็นเครื่องมือที่ดีเยี่ยมสำหรับการแชร์ใช้งานโปรแกรม ข้อมูล และอุปกรณ์ได้เป็นอย่างดี
ด้วยอัตราการใช้งานไมโครคอมพิวเตอร์ และการนำมาเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายท้องถิ่นจำนวนมาก จึงทำให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีนี้อย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันเครือข่ายท้องถิ่นมีอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลสูงคือ ตั้งแต่ 100 เมกะบิตต่อวินาที (100 Mbps) จนถึงระดับกิกะบิตต่อวินาที (1 Gbps)
2.      ไมโครคอมพิวเตอร์กับอินเทอร์เน็ต (Microcomputer-to-Internet Configurations)
จากการเติบโตของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และกระแสการใช้งานไมโครคอมพิวเตอร์ตามบ้านพักอาศัยมีจำนวนมากขึ้น ดังนั้นการนำไมโครคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเ
ทอร์เน็ตจึงมีอัตราสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ใช้ตามบ้านพักอาศัยส่วนใหญ่ใช้งานอินเทอร์เน็ตด้วยเทคโนโลยีระบบ ADSL ที่กลุ่มลูกค้าตามบ้านพักอาศัยสามารถมีทางเลือกในการใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ โดยอัตราความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูลมีได้ตั้งแต่ Mbps แต่การใช้บริการระบบ ADSL ได้นั้น บริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) จะต้องมีการติดตั้งระบบดังกล่าวครอบคลุมพื้นที่ที่ต้องการใช้งานด้วย ลูกค้าตามบ้านักอาศัยจึงสามารถใช้บริการได้ ที่สำคัญการบริการ ADSL จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายรายเดือน และสามารถเชื่อมโยงใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง
  • 3.      เครือข่ายท้องถิ่นกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (LAN-to-Internet Configurations)
อุปกรณ์ที่เรียกว่า “เร้าเตอร์ (Router)” จัดเป็นอุปกรณ์สำคัญที่จะต้องนำมาใช้เพื่อเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายทั้งสอง ถึงแม้ว่าอุปกรณ์สวิตช์หรือบริดจ์จะสามารถนำมาใช้เชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายได้เช่นกัน แต่หลักการทำงานจะแตกต่างกัน โดยเฉพาะเร้าเตอร์จะมีขีดความสามารถในการจัดการเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่รับส่งกันระหว่างเครือข่ายจำนวนมากที่เชื่อมต่อกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้เป็นอย่างดี และมีหลักการทำงานที่ซับซ้อนกว่าอุปกรณ์อย่างบริดจ์และสวิตช์
  • 4.      ดาวเทียมและไมโครเวฟ (Satellite and Microwave)
เทคโนโลยีดาวเทียมและไมโครเวฟ จัดเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่กำลังได้รับความนิยมและนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย ซึ่งหากระยะทางระหว่างสองเครือข่ายไกลกันมาก และยากต่อการเดินสายสัญญาณเพื่อเชื่อมต่อระหว่างกัน หรือแทบจะเชื่อมโยงผ่านสายไม่ได้เลยเนื่องจากปัญหาด้านภูมิศาสตร์ ดังนั้นการส่งผ่านข้อมูลด้วยการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมและไมโครเวฟจึงเป็นแนวทางหนึงที่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายทั้งสองให้สามารถสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการนำมาประยุกต์ใช้เพื่องานแพร่ภาพทีวีผ่านดาวเทียม โทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบ GPS และวิดีโอคอนเฟเร็นซ์
  • 5.      โทรศัพท์ไร้สาย (Wireless Telephone)
ตัวอย่างของคอมพิวเตอร์โน๊ตบุคที่นำมาใช้เชื่อมต่อกับโทรศัพท์ไร้สายผ่านสายเคเบิลหรือบลูทูธ (Bluetooth) การส่งผ่านข้อมูลจากโทรศัพท์ไร้สายที่เชื่อมต่อกับโน๊ตบุค จะส่งไปยังศูนย์กลางโทรศัพท์ไร้สาย (Wireless Telephone Switching Center) ซึ่งศูนย์กลางนี้เองจะทำหน้าที่ช่วยในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างโน๊ตบุคผ่านโครงข่ายโทรศัพท์สาธารณะ รวมถึงการเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  

แบบทดสอบบทที่ 1

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ก (อังกฤษcomputer network; ศัพท์บัญญัติว่า ข่ายงานคอมพิวเตอร์) คือเครือข่ายการสื่อสารโทรคมนาคมระหว่างคอมพิวเตอร์จำนวนตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ การเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่างๆในเครือข่าย (โหนดเครือข่าย) จะใช้สื่อที่เป็นสายเคเบิลหรือสื่อไร้สาย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันดีคือ อินเทอร์เน็ต
การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีการใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกัน เพื่อเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น และลดต้นทุนของระบบโดยรวมลง
การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันในเครือข่าย ทำให้ระบบมีขีดความสามารถเพิ่มมากขึ้น การแบ่งการใช้ทรัพยากร เช่น หน่วยประมวลผลหน่วยความจำ,หน่วยจัดเก็บข้อมูลโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีราคาแพงและไม่สามารถจัดหามาให้ทุกคนได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องกราดภาพ (scanner) ทำให้ลดต้นทุนของระบบลงได้
อุปกรณ์เครือข่ายที่สร้างข้อมูล, ส่งมาตามเส้นทางและบรรจบข้อมูลจะเรียกว่าโหนดเครือข่าย. โหนดประกอบด้วยโฮสต์เช่นเซิร์ฟเวอร์, คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและฮาร์ดแวร์ของระบบเครือข่าย อุปกรณ์สองตัวจะกล่าวว่าเป็นเครือข่ายได้ก็ต่อเมื่อกระบวนการในเครื่องหนึ่งสามารถที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกับกระบวนการในอีกอุปกรณ์หนึ่งได้
เครือข่ายจะสนับสนุนแอปพลิเคชันเช่นการเข้าถึงเวิลด์ไวด์เว็บ, การใช้งานร่วมกันของแอปพลิเคชัน, การใช้เซิร์ฟเวอร์สำหรับเก็บข้อมูลร่วมกัน, การใช้เครื่องพิมพ์และเครื่องแฟ็กซ์ร่วมกันและการใช้อีเมลและโปรแกรมส่งข้อความโต้ตอบแบบทันทีร่วมกัน


มาตรฐานการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย

มาตรฐานการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย

              การกำหนดมาตรฐานของอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ในยุคแรก ๆ จะมุ่งเน้นถึงคำสั่งการ ทำงาน ภายใน และการเชื่อมต่ออุปกรณ์พื้นฐานต่าง ๆ ก่อให้ระบบเกิดคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า ระบบปิด( Closed System ซึ่งหมายความว่า ในระบบนี้จะมีการติดต่อสื่อสารได้ เฉพาะเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่มาจาก ผู้ผลิต เดียวกัน หรือถ้าบริษัทอื่นเข้ามาร่วมในการสื่อสารด้วย ก็ต้องพยายามทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ผลิตขึ้น มีลักษณะ ที่เหมือนหรือคล้ายคลึงกันกับ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการติดต่อให้มากที่สุดหรือที่เรียกว่า PLug Compatible System

              ต่อเนื่องจากได้เล็งเห็นข้อเสียของระบบปิดแล้ว องค์กรต่าง ๆ ก็ได้มุ่งเน้นให้กำหนดมาตรฐาน สำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่จะนำ ต่อเชื่อมกับโครงข่ายสาธารณะ และมีการกำหนดมาตรฐาน เอาไว้ หลาย ลักษณะ ดังต่อไปนี้คือ

             1. V-Series Recommendations เป็นการกำหนดมาตรฐานของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น Modem ซึ่งจะ นำมาเชื่อมต่อกับระบบโทรศัพท์ (PSTN-Public Switched Telephone Network) หรือที่มักจะเรียก ระบบนี้ว่า Data Termanl Equipment (DTE)

            X-Series Recommedations เป็นการกำหนดมาตรฐานการเชื่อมต่ออุปกรณ์ DTE กับ โครงข่าย สื่อสาร ข้อมูลสาธารณะ (PSDN-Public Switched Data Network)

             I-Sereis Recommendations เป็นการกำหนดมาตรฐานการเชื่อมต่ออุปกรณ์ DTE กับ โครงข่าย สื่อสารร่วมระบบดิจิตอล (IDN-Intergated Service Digital Network

             ผลการกำหนดมาตรฐานดังกล่าวข้างต้น ทำให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ถูกออกแบบมา ให้มีความ คล้ายคลึงกัน และสามารถทำงานทดแทนกันได้ ซึ่งมีผลทำให้ผู้ซื้อสามารถเลือกอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้จากผู้ขาย จำนวนมากมายขึ้น

             ในระยะแรกบริการโครงส่ายสื่อสารสาธารณะ จะมุ่งเน้นด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่าง เครือ ข่าย เท่านั้น ซึ่งก็ทำให้มาตรฐานต่าง ๆ ถูกกำหนดขึ้นโดย เน้นในด้านของการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าสู่ระบบ เครือข่ายนั้น ๆ แต่ต่อมาระบบเครือข่ายสาธารณะก็ได้เริ่มขยายการให้บริการข้อมูล เช่น การบริการแลกเปลี่ยนการให้บริการแลกเปลี่ยนข้อความทางอิเล็คทรอนิส์การให้บริการ               เพื่อที่จะทำให้บริการต่าง ๆ เหล่านี้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงได้มีการกำหนดมาตรฐาน ซึ่ง ไม่เพียง พอแต่ครอบคลุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะนำมาเชื่อมต่อเข้า กับระบบดังกล่าวแต่งยัง คงครอบ คลุมถึงรูปแบบ ( Syntax) ของข้อมูล ที่จะนำเข้าสู่ระบบการแลกเปลี่ยนผ่านทางเครือข่ายด้วย ซึ่งผล ของ การ กำหนดมาตรฐาน นี้ ทำให้อุปกรณ์จากผู้ผลิตหนึ่งสามารถที่จะนำมาใช้แลกเปลี่ยนหรือทดแทนกันได้ กับอุปกรณ์จากผู้ผลิตอื่น ๆ ที่ได้ผลิตขึ้นตามมาตรฐานเดียวกัน

           จุดมุ่งหมายของ ISO Reference Model คือ การกำหนดโครงร่าง สำหรับสำหรับ การกำหนด มาตรฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบ เพื่อให้มาตรฐานเดิม ที่มีอยู่กับมาตรฐานอื่น ๆ ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้อง ได้ดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน หรืออีกนัยหนึ่งคือ การอนุญาตให้โปรแกรมใช้งานต่างๆ ในคอมพิวเตอร์ที่ ดำเนินการตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ ได้ดำเนินการติดต่อกับโปรแกรมที่อยู่ในคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ที่อยู่ภาย ใต้มาตรฐานเดียวกัน ได้โดยอิสระโดยไม่ต้องคำนึง ถึงว่าโปรแกรมนั้นจะมาจากบริษัทผู้ผลิตใด

            ตัวอย่างโปรแรมต่าง ๆ ที่ต้องมีการติดต่อสื่อสารโดยวิธีการของระบบเปิด ได้แก่

            1. โปรแกรมที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น แล้วนำประมวลผลในเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่โปรแกรมนั้นอยู่

             2. โปรแกรมที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นตัวบริการฐานข้อมูล (Server) สำหรับโปรแกรมอื่น ๆ ใน ระบบ ประมวลผลแบบกระจาย (Distribued)

              3.โปรแกรมที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเครือข่ายแล้วต้องการใช้บริการจดหมายอิเล็คทรอนิกส์

               4. โปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลาง การให้บริการจดหมายอิเล็คทรอนิกส์แก่โปรแกรมอื่น ๆ ในระบบการประมวลผลแบบกระจาย (Distributed)

                5. โปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมโปรแกรมอื่น ในงานเกี่ยวกับการควบคุมเครื่องจักรกล หรือ อุปกรณ์ ที่ ใช้ในคอมพิวเตอร์

                6. โปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมเครื่องจักรกลหรืออุปกรณ์ที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ขณะกำลัง รับ สั่ง จากโปรแกรมควบคุมอีกชั้นหนึ่ง

                 7. โปรแกรมที่อยู่ศูนย์กลางธนาคาร ขณะทำหน้าที่ปรุงยอดบัญชีของลูกค้า ที่อยู่ในเครื่อง คอมพิวเตอร์ใน เครือข่ายระยะไกลความหมายของ ISO จะอยู่ที่การแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่าง โปรแกรม ต่าง ๆ เหล่านั้นโดยจะอำนวยความสะดวกให้แต่ละโปรแกรมให้สามารถรับ - ส่งข้อมูลที่ต้องการได้ โดยไม่ต้อง คำนึงถึงว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ที่กำลังประมวลผลนั้นมีลักษณะทาง Hardware เช่นใด


รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย

รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย (bus topology ,start  topology  ,ring  topology) ลักษณะข้อดี ,ข้อเสีย

รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย ( Topologies )
รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่ายหรือมักเรียกสั้น ๆ ว่า โทโพโลยี เป็นลักษณะทั่วไปที่กล่าวถึงการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทางกายภาพว่ามีรูปแบบหน้าตาอย่างไร เพื่อให้สามารถสื่อสารร่วมกันได้และด้วยเทคโนโลยีเครือข่ายท้องถิ่นจะมีรูปแบบของโทโพโลยีหลายแบบด้วยกัน ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจแต่ละโทโพโลยีว่ามีความคล้ายคลึง หรือแตกต่างกันอย่างไร รวมถึงข้อดีและข้อเสียของแต่ละโทโพโลยี และโดยปกติโทโพโลยีที่นิยมใช้กันบนเครือข่ายท้องถิ่นจะมีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน คือ
  • โทโพโลยีแบบบัส
  • โทโพโลยีแบบดาว
  • โทโพโลยีแบบวงแหวน

1. แบบบัส ( BUS Topology ) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องบนสายสัญญาณหลักเส้นเดียว ที่เรียกว่า BUS ทีปลายทั้งสองด้านปิดด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Teminator ไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ คอมพิวเตอร์เครื่องใดหยุดทำงาน ก็ไม่มีผลกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย



ข้อดี ของการเชื่อแบบบัส คือ
  • สามารถติดตั้งได้ง่าย เนื่องจากเป็นโครงสร้างเครือข่ายที่ไม่ซับซ้อน
  • การเดินสายเพื่อต่อใช้งาน สามารถทำได้ง่าย
  • ประหยัดค่าใช้จ่าย กล่าวคือ ใช้สายส่งข้อมูลน้อยกว่า เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับสายหลักได้ทันที
  • ง่ายต่อการเพิ่มสถานีใหม่เข้าไปในระบบ โดยสถานีนี้สามารถใช้สายส่งข้อมูลที่มีอยู่แล้วได้
ข้อเสียของการเชื่อแบบบัส คือ
1. ถ้ามีสายเส้นใดเส้นหนึ่งหลุดไปจากสถานีใดสถานีหนึ่ง ก็จะทำให้ระบบเครือข่ายนี้หยุดการทำงานลงทันที
2. ถ้าระบบเกิดข้อผิดพลาดจะหาข้อผิดพกลาดได้ยาก โดยเฉพาะถ้าเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่



2. แบบดาว ( Star topology ) เป็นการเชื่อมต่อสถานีหรือจุดต่าง ๆ ออกจากคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่เรียกว่า File Server แต่ละสถานีจะมีสายสัญญาณเชื่อมต่อกับศูนย์กลาง ไม่มีการใช้สายสัญญาณร่วมกัน เมื่อสถานีใดเกิดความเสียหายจะไม่มีผลกระทบกับสถานีอื่น ๆ ปัจจุบันนิยมใช้อุปกรณ์ HUB เป็นตัวเชื่อมต่อจากคอมพิวเตอร์แม่ข่ายหรือคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง



ข้อดีของการเชื่อมแบบดาว คือ ง่ายต่อการใช้บริการ เพราะมีศูนย์กลางอยู่ที่คอมพิวเตอร์แม่ข่ายอยู่เครื่องเดียวและเมื่อเกิดความเสียหายที่คอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นก็จะไม่มีผลกระทบอันใดเพราะใช้สายคนละเส้น
ข้อเสียของการเชื่อมแบบดาว คือ ต้องใช้สายสัญญาณจำนวนมาก เพราะแต่ละสถานีมีสายสัญญาณของตนเองเชื่อมต่อกับศูนย์กลางจึงเหมาะสมกับเครือข่ายระยะใกล้มาก กว่าการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกล การขยายระบบก็ยุ่งยากเพราะต้องเชื่อมต่อสายจากศูนย์กลางออกมา ถ้าศูนย์กลางเสียหายระบบจะใช้การไม่ได้



3. แบบวงแหวน ( Ring Topology ) เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายเป็นรูปวงแหวนหรือแบบวนรอบ โดยสถานีแรกเชื่อมต่อกับสถาน สุดท้าย การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายจะต้องผ่านทุกสถานี โดยมีตัวนำสารวิ่งไปบนสายสัญญาณของแต่ละสถานี ต้องคอยตรวจสอบข้อมูลที่ส่งมา ถ้าไม่ใช่ของตนเองต้องส่งผ่านไปยังสถานีอื่นต่อไป

ข้อดีของการเชื่อมแบบวงแหวน คือ ใช้สายสัญญาณน้อยกว่าแบบดาว เหมาะกับการเชื่อมต่อด้วยสายสัญญาณใยแก้วนำแสง เพราะส่งข้อมูลทางเดียวกันด้วยความเร็วสูง
ข้อเสียของการเชื่อมแบบวงแหวน คือ ถ้าสถานีใดเสียระบบก็จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้จนกว่าจะแก้ไขจุดเสียนั้น และยากในการตรวจสอบว่ามีปัญหาที่จุดใดและถ้าต้องการเพิ่มสถานีเข้าไปจะพกหระทำได้ยากด้วย

อุปกรณ์ในระบบเครือข่าย

อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบเครือข่าย

ที่มารูปภาพ: http://www.buycoms.com/buyers-guide/modem/index.asp

1.โมเด็ม (Modem)

    โมเด็มเป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เมื่อข้อมูลถูกส่งมายังผู้รับละแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นแอนะล็อก เมื่อต้องการส่งข้อมูลไปบนช่องสื่อสาร  กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณดิจิตัลให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก เรียกว่า มอดูเลชัน (Modulation) โมเด็มทำหน้าที่ มอดูเลเตอร์ (Modulator) กระบวนการที่โมเด็มแปลงสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ให้เป็นสัญญาณดิจิตัล เรียกว่า ดีมอดูเลชัน (Demodulation) โมเด็มหน้าที่ ดีมอดูเลเตอร์ (Demodulator)โมเด็มที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันมี 2 ประเภทโมเด็กในปัจจุบันทำงานเป็นทั้งโมเด็มและ เครื่องโทรสาร เราเรียกว่า Faxmodem


ที่มารูปภาพ: http://www.itdestination.com/articles/lancard1000base/
2. การ์ดเครือข่าย (Network  Adapter) หรือ การ์ด LAN
     เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างเครื่องต่างกันได้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นหรือยี่ห้อเดียวกันแต่หากซื้อพร้อมๆกันก็แนะนำให้ซื้อรุ่นและยีห้อเดียวกันจะดีกว่า
และควรเป็น การ์ดแบบ PCI เพราะสามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบ ISAและเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆมักจะไม่มี Slot  ISA ควรเป็นการ์ดที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps
ซึ่งจะมีราคามากกว่าการ์ดแบบ 10 Mbps ไม่มากนัก แต่ส่งขอมูลได้เร็วกว่า นอกจากนี้คุณควรคำหนึงถึงขั้วต่อหรือคอนเน็กเตอร์ของการ์ดด้วยโดยทั่วไปคอนเน็กเตอร์ ของการ์ด LAN จะมีหลายแบบ เช่น BNC , RJ-45 เป็นต้น ซึ่งคอนเน็กเตอร์แต่ละแบบก็จะใช้สายที่แตกต่างกัน



ที่มารูปภาพ: http://www3.ipst.ac.th/research/assets/web/mahidol/computer(10)/network/net_wan9.htm
3. เกตเวย์ (Gateway)

     เกตเวย์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์หน้าที่หลักคือช่วยให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์  2 เครือข่ายหรือมากกว่า ซึ่งมีลักษณะไม่เหมือนกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้เหมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน


ที่มารูปภาพ: http://forums.overclockzone.com/forums/showthread.php?t=417552
4. เราเตอร์ (Router)

     เราเตอร์เป็นอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมโยงให้เครือข่ายที่มีขนาดหรือมาตรฐานในการส่งข้อมูลต่างกัน สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล
ระหว่างกันได้ เราเตอร์จะทำงานอยู่ชั้น Network หน้าที่ของเราเตอร์ก็คือ ปรับโปรโตคอล (Protocol) (โปรโตคอลเป็นมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์) ที่ต่างกันให้สามารถสื่อสารกันได้


ที่มารูปภาพ: http://www.tanti.ac.th/Com-tranning/NetWork/bridge.htm
5. บริดจ์ (Bridge)

     บริดจ์มีลักษณะคล้ายเครื่องขยายสัญญาณ บริดจ์จะทำงานอยู่ในชั้น Data Link บริดจ์ทำงานคล้ายเครื่องตรวจตำแหน่งของข้อมูล โดยบริดจ์จะรับข้อมูล จากต้นทางและส่งให้กับปลายทาง โดยที่บริดจ์จะไม่มีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงใดๆแก่ข้อมูล บริดจ์ทำให้การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายมีประสิทธิภาพลดการชนกัน ของข้อมูลลง บริดจ์จึงเป็นสะพานสำหรับข้อมูลสองเครือข่าย


ที่มารูปภาพ: http://webserv.kmitl.ac.th/~hs3lse/project/repeater.html
6. รีพีตเตอร์ (Repeater)

     รีพีตเตอร์ เป็นเครื่องทบทวนสัญญาณข้อมูลในการส่งสัญญาณข้อมูลในระยะทางไกลๆสำหรับสัญญาณแอนะล็อกจะต้องมีการขยายสัญญาณข้อมูลที่
ี่เริ่มเบาบางลงเนื่องจากระยะทาง และสำหรับสัญญาณดิจิตัลก็จะต้องมีการทบทวนสัญญาณเพื่อป้องกันการขาดหายของสัญญาณเนื่องจากการส่งระยะทางไกลๆ
เช่นกัน รีพีตเตอร์จะทำงานอยู่ในชั้น Physical
7.  สายสัญญาณ

     เป็นสายสำหรับเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆในระบบเข้าด้วยกัน หากเป็นระบบที่มีจำนวนเครื่องมากกว่า 2 เครื่องก็จะต้องต่อผ่านฮับอีกทีหนึ่ง โดยสายสัญญาณสำหรับเชื่อมต่อเครื่องในระบบเครือข่าย จะมีอยู่ 2 ประเภท คือ


ที่มารูปภาพ: http://www.itcomcenter.com/tips-view.asp?id=63&forward=1
         -     สาย Coax  มีลักษณะเป็นสายกลม  คล้ายสายโทรทัศน์  ส่วนมากจะเป็นสีดำสายชนิดนี้จะใช้กับการ์ด LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ BNC สามารถส่งสัญญาณได้ไกลประมาณ 200 เมตร  สายประเภทนี้จะต้องใช้ตัว T Connector สำหรับเชื่อมต่อสายสัญญาณกับการ์ด LAN ต่างๆในระบบ และต้องใช้ตัว Terminator ขนาด 50 โอห์ม  สำหรับปิดหัวและท้ายของสาย


ที่มารูปภาพ: http://www.digitalfocus.co.th/network.php
         -     สาย UTP (Unshied  Twisted  Pair)  เป็นสายสำหรับการ์ด  LAN ที่ใช้คอนเน็กเตอร์แบบ RJ-45  สามารถส่งสัญญาณได้ไกล
ประมาณ 100 เมตร หากคุณใข้สายแบบนี้จะต้องเลือกประเภทของสายอีก โดยทั่วไปนิยมใช้กัน 2 รุ่น  คือ  CAT 3 กับ CAT5 ซึ่งแบบ CAT3 จะมีความเร็วในการส่งสัญญาณ10 Mbps และแบบ CAT 5 จะมีความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 100 Mbps แนะนำว่าควรเลือกแบบ CAT 5 เพื่อการอัพเกรดในภายหลังจะได้ไม่ต้องเดินสายใหม่  ในการใช้งานสายนี้  สาย 1 เส้นจะต้องใช้ตัว RJ - 45 Connector จำนวน 2 ตัว  เพื่อเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างสายสัญญาณจากการ์ด LAN ไปยังฮับหรือเครื่องอื่น เช่นเดียวกับสายโทรศัพท์ ในกรณีเป็นการเชื่อมต่อเครื่อง 2 เครื่องสามารถใช้ต่อผ่านสายเพียงเส้นเดียได้แต่ถ้ามากกว่า 2 เครื่อง ก็จำเป็นต้องต่อผ่านฮับ



ที่มารูปภาพ: http://it.stoulaws.com/2008/12/hub/
8.  ฮับ (HUB)      เป็นอุปกรณ์ช่วยกระจ่ายสัญญาณไปยังเครื่องต่างๆที่อยู่ในระบบ หากเป็นระบบเครือข่ายที่มี 2 เครื่องก็ไม่จำเป็นต้องใช้ฮับสามารถใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อ ถึงกันได้โดยตรง  แต่หากเป็นระบบที่มีมากกว่า 2 เครื่องจำเป็นต้องมีฮับเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ในการเลือกซื้อฮับควรเลือกฮับที่มีความเร็วเท่ากับความเร็ว ของการ์ด เช่น  การ์ดมีความเร็ว  100 Mbps ก็ควรเลือกใช้ฮับที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps ด้วย ควรเป็นฮับที่มีจำนวนพอร์ตสำหรับต่อสายที่เพียงพอกับ เครื่องใช้ในระบบ  หากจำนวนพอร์ตต่อสายไม่เพียงพอก็สามารถต่อพ่วงได้  แนะนำว่าควรเลือกซื้อฮับที่สามารถต่อพ่วงได้  เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต

การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบเวิร์คกรุ๊ปด้วย Windows 7

การเข้าร่วมหรือสร้างเวิร์กกรุ๊ป


เมื่อคุณตั้งค่าเครือข่ายWindows จะสร้างเวิร์กกรุ๊ป และตั้งชื่อให้โดยอัตโนมัติ คุณสามารถเข้าร่วมเวิร์กกรุ๊ปที่มีอยู่บนเครือข่าย
หรือสร้างเวิร์กกรุ๊ปใหม่
  1. เปิด 'ระบบ' ด้วยการคลิกปุ่ม เริ่มรูปภาพของปุ่ม 'เริ่ม' คลิกขวาที่ คอมพิวเตอร์ แล้วคลิก คุณสมบัติ
  2. ภายใต้ การตั้งค่าชื่อคอมพิวเตอร์ โดเมน และเวิร์กกรุ๊ป ให้คลิก เปลี่ยนแปลงการตั้งค่า ต้องการสิทธิระดับผู้ดูแล                                                                  ถ้าคุณได้รับพร้อมท์ให้ใส่รหัสผ่านของผู้ดูแลหรือการยืนยัน ให้พิมพ์รหัสผ่านหรือทำการยืนยัน
  3. ในกล่องโต้ตอบ คุณสมบัติของระบบ ให้คลิกแท็บ ชื่อคอมพิวเตอร์ แล้วคลิก เปลี่ยน
  4. ในกล่องโต้ตอบ การเปลี่ยนชื่อคอมพิวเตอร์/โดเมน ภายใต้ สมาชิกของ ให้คลิก เวิร์กกรุ๊ป                                                                  แล้วเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
    • เมื่อต้องการเข้าร่วมเวิร์กกรุ๊ปที่มีอยู่ ให้พิมพ์ชื่อของเวิร์กกรุ๊ปที่ต้องการเข้าร่วม แล้วคลิก ตกลง
    • เมื่อต้องการสร้างเวิร์กกรุ๊ปใหม่ ให้พิมพ์ชื่อของเวิร์กกรุ๊ปที่ต้องการสร้าง แล้วคลิก ตกลง
    รูปภาพของกล่องโต้ตอบ 'การเปลี่ยนชื่อคอมพิวเตอร์/โดเมน'
    กล่องโต้ตอบ 'การเปลี่ยนชื่อคอมพิวเตอร์/โดเมน'
    ถ้าคอมพิวเตอร์ของคุณเป็นสมาชิกของโดเมน ก่อนที่คุณจะเข้าร่วมเวิร์กกรุ๊ป คอมพิวเตอร์จะถูกเอาออกจากโดเมน และบัญชีคอมพิวเตอร์ของคุณบนโดเมนดังกล่าวจะปิดใช้งาน  อ่างอิง http://windows.microsoft.com/th-th/windows/join-create-workgroup#1TC=windows-7

การแชร์ไฟล์และเครื่องพิมพ์บนเครือข่าย

ตัวอย่าง


การแชร์ไฟล์ใน Windows 7

  1. อันดับแรกเราต้องทำการเปิดการแชร์ของ network ที่เราใช้อยู่เสียก่อนให้เข้าไปที่ control panel  -> Network and Internet -> Network and Sharing Center เมื่อกดเข้ามาแล้วจะพบกับหน้าต่างดังภาพ

  2. คลิ๊กเลือกไปที่ Change advanced sharing setting เพื่อเข้าสู่เมนูของการปรับแต่งค่าของ Network ซึ่งจุดนี้สำคัญเราต้องปรับค่าให้ตรงกับ Network ที่เราใช้อยู่ โดยทั่วไปจะมี Home , Work network และ Public ซึ่งถ้าเราใช้ Network ตัวไหนอยู่ก็ให้ทำการปรับค่าที่ Network นั้นซึ่งในตัวอย่างเป็น Network แบบ Public เมื่อกดเข้าไปเราหาเมนูดังภาพด้านล่าง
  3. ทำการเปิด Network discovery , File and printer sharing และ Public folder sharing โดยติ๊กเลือกที่ Turn on ดังภาพด้านบน จากนั้นเลื่อนลงมาด้านล่างสุดหาคำว่า Password protected sharing ทำการ Turn of ค่านี้ดังภาพด้านล่าง
  4. เมื่อทำการตั้งค่าเสร็จเรียบร้อยให้กด Save Change แล้วปิดหน้าต่างออกมาได้เลย จากนั้นมาเข้าสู่กระบวนการแชร์ไฟล์ โฟลด์เดอร์ หรือไดร์ฟโดยทำนำเมาส์ไปชี้ที่ไฟล์ โฟลด์เดอร์ หรือไดร์ฟที่ต้องการจะแชร์ คลิ๊กขวาเลือก properties เพื่อเรียกหน้าต่างสำหรับปรับแต่งค่าขึ้นมา จากนั้นเลือกไปที่หัวข้อ Sharing จากนั้นเลือกไปที่ Share คลิ๊กหนึ่งครั้ง
  5. เมื่อคลิ๊กที่คำสั่ง Share แล้วจะปรากฏหน้าต่างสำหรับกำหนดสิทธิ์ ตรงจุดนี้ไม่ต้องใส่ใจเลือกคลิ๊กไปที่ Share ที่อยู่ด้านล่างได้เลยดังภาพ
  6. เมื่อเสร็จสิ้นการแชร์แล้ว เราจำเป็นจะต้องกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงไฟล์ โฟลด์เดอร์ หรือไดร์ฟที่เราได้ทำการแชร์เมื่อครู่นี้โดยเลือกไปที่หัวข้อ Security เพื่อทำการกำหนดสิทธิ์โดยเมื่อคลิ๊กเข้าไปก็จะพบกับหน้าต่างดังภาพด้านล่าง
  7. เลือกไปที่ Edit เพื่อเข้าสู่เมนูการเพิ่มสิทธิ์ จากนั้นเลือกไปที่ add
  8. พิมพ์คำว่า everyone ลงในช่อง Enter the object names to select จากนั้นกด Check Name หากพิมพ์ถูกต้องก็จะปรากฏคำว่า Everyone ขึ้นมาดังภาพด้านล่างจากนั้นกด OK
  9. เมื่อทำการเพิ่มชื่อแล้วให้กลับมาดูที่ช่องของการกำหนดสิทธิ์ในส่วนของ Group or user names ถ้ามี Everyone ปรากฎอยู่ก็เป็นอันเสร็จให้กด OK ออกมาได้เลยเท่านี้เครื่องเราก็จะสามารถทำการแชร์ไฟล์ได้ตามปกติแล้ว

การตรวจสอบและแก้ไข้ปัญหาของระบบเครือข่าย

วิธีการแก้ไขปัญหาการเชื่อมต่อเครือข่าย

ขั้นตอนที่ 1. ใช้เครื่องมือบริการแก้ไขปัญหาอัตโนมัติของ Microsoft

คุณอาจลองใช้บริการแก้ไขปัญหาอัตโนมัติของ Microsoft เป็นขั้นแรกในการวินิจฉัยและซ่อมแซมปัญหาการเชื่อมต่อเครือข่ายทั่วไปใน Internet Explorer คุณควรเรียกใช้ตัวแก้ไขปัญหาทั้งสองเพื่อดูว่าปัญหาของคุณได้รับการแก้ไขหรือไม่

ถ้าตัวแก้ไขปัญหาอัตโนมัติเหล่านี้สามารถแก้ไขปัญหาของคุณได้ ถือว่าคุณเสร็จสิ้นขั้นตอนสำหรับบทความนี้แล้ว ถ้าตัวแก้ไขปัญหาไม่สามารถแก้ไขปัญหาการเชื่อมต่อของคุณได้ ให้ดำเนินการต่อไปในขั้นตอนที่ 2

ขั้นตอนที่ 2. ใช้เครื่องมือวินิจฉัยเครือข่าย

เครื่องมือวินิจฉัยเครือข่ายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Windows Vista ได้รับการออกแบบมาเพื่อทดสอบข้อผิดพลาดของการเชื่อมต่อเครือข่าย เครื่องมือวินิจฉัยเครือข่ายยังสามารถใช้เพื่อระบุว่าโปรแกรมที่เกี่ยวกับเครือข่ายทำงานอย่างถูกต้องหรือไม่ สำหรับการใช้เครื่องมือนี้แก้ไขปัญหาการเชื่อมต่อเครือข่าย ให้ทำตามขั้นตอนดังนี้
  1. เปิด Internet Explorer แล้วพยายามเข้าถึงเว็บเพจที่ทำให้เกิดปัญหาในการเชื่อมต่อเครือข่าย
  2. ในเพจที่ปรากฏข้อความแสดงข้อผิดพลาดของ Internet Explorer ให้คลิกที่การเชื่อมโยง วินิจฉัยปัญหาการเชื่อมต่อ
เครื่องมือวินิจฉัยเครือข่ายจะทำงาน เมื่อเครื่องมือทำงานเสร็จสิ้น จะส่งการรายงานผลใดๆ ต่อไปนี้:
  • เครื่องมือไม่พบปัญหา
  • เครื่องมือพบปัญหา นอกจากนี้ เครื่องมือจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับขั้นตอนต่อไปในการแก้ไขปัญหา
หากคุณไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยการใช้เครื่องมือวินิจฉัยเครือข่าย คุณต้องแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง โดยไปที่ส่วน "แก้ไขปัญหาด้วยตนเอง"

ขั้นตอนที่ 3. แก้ไขปัญหาด้วยตนเอง

วิธีที่ 1: ทดสอบเว็บไซต์ที่รู้อยู่แล้วว่าทำงานได้

เริ่มโปรแกรม Internet Explorer แล้วป้อนที่อยู่ใดๆ ต่อไปนี้ในแถบที่อยู่ด้านบนของหน้าต่างเบราว์เซอร์:
หากคุณไม่พบปัญหาการเชื่อมต่อเครือข่ายเมื่อคุณพิมพ์ที่อยู่ใดๆ เหล่านี้ลงในแถบที่อยู่ เราขอแนะนำให้คุณติดต่อเจ้าของเว็บไซต์ที่คุณพบปัญหานั้นๆ ซึ่งเว็บไซต์อาจจะปิดออฟไลน์ชั่วคราวหรือประสบปัญหาอื่นๆ ของตัวเอง

อย่างไรก็ตาม หากคุณยังพบปัญหาการเชื่อมต่อเครือข่ายอยู่เมื่อคุณพิมพ์ที่อยู่ใดๆ เหล่านี้ลงในแถบที่อยู่ อาจเป็นเพราะมีข้อขัดแย้งกับซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งอยู่บนระบบ ในกรณีนี้ ไปที่วิธีที่ 2

วิธีที่ 2: ตรวจสอบการเชื่อมต่อเครือข่าย

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสายเคเบิลที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับอินเทอร์เน็ตหรือกับเครือข่ายในบ้านของคุณแน่นดีแล้ว นอกจากนี้ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเปิดใช้อุปกรณ์เครือข่ายที่คอมพิวเตอร์ของคุณและทำงานได้อย่างถูกต้อง จากนั้น ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ เพื่อตรวจสอบการเชื่อมต่อเครือข่ายตามความเหมาะสมกับสถานการณ์
ขั้นที่ 1: ตรวจสอบการเชื่อมต่อของโมเด็ม DSL ภายนอก เคเบิลโมเด็ม หรือโมเด็มผ่านสายโทรศัพท์

หากคุณใช้โมเด็มภายนอก ให้ตรวจสอบดังนี้
  1. ตรวจดูว่าสายเคเบิลเชื่อมต่อโมเด็มกับผนังอย่างแน่นหนา โดยมากแล้ว สายเคเบิลมักจะเชื่อมต่อกับหัวต่อโทรศัพท์หรือเต้าเสียบเคเบิล
  2. ตรวจดูว่าสายเคเบิลเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับโมเด็มอย่างแน่นหนาทั้งสองปลาย และหัวต่อแต่ละด้านของสายเคเบิลอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ในกรณีที่เป็นเคเบิลเครือข่าย เคเบิลเครือข่ายมีลักษณะคล้ายเคเบิลโทรศัพท์ แต่จะหนากว่าและหัวต่อแต่ละด้านจะใหญ่กว่า
  3. ถ้าใช้สาย USB เชื่อมต่อโมเด็มภายนอกกับคอมพิวเตอร์ คุณจะต้องทำการตรวจสอบเพิ่มเติม สาย USB จะมีหัวต่อที่ต่างกันในแต่ละปลายสาย ปลายด้านหนึ่งจะเป็นสี่เหลี่ยมแบน ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นลูกบาศก์ที่มีสลักเข้ามุมทั้งสองมุม สำหรับการตรวจสอบการเชื่อมต่อ USB ให้ลองทำดังนี้
    1. ถ้าโมเด็มเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์โดยใช้ฮับ USB ให้ลองข้ามฮับ USB คุณสามารถข้ามฮับ USB ด้วยการเสียบสายเคเบิลจากอุปกรณ์ลงในพอร์ต USB ตัวใดตัวหนึ่งของคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง
    2. หากโมเด็มเสียบอยู่ที่พอร์ตใดพอร์ตหนึ่งที่อยู่ด้านหน้าของคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป ให้ลองเสียบสาย USB ลงในพอร์ตใดพอร์ตหนึ่งที่ด้านหลังคอมพิวเตอร์แทน คอมพิวเตอร์บางเครื่องให้พลังงานไม่เพียงพอแก่พอร์ต USB ด้านหน้า ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาการเชื่อมต่อกับโมเด็ม
ขั้นตอนที่ 2: ตรวจสอบการเชื่อมต่ออุปกรณ์โมเด็มภายใน
หากโมเด็มที่ใช้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ สายเคเบิลที่ออกมาจากอุปกรณ์โมเด็มควรจะมีเพียงเส้นเดียว ตรวจดูว่าสายเคเบิลเชื่อมต่อโมเด็มกับเต้าเสียบผนังอย่างแน่นหนาในแต่ละด้าน โดยมากแล้ว สายเคเบิลมักจะเชื่อมต่อกับหัวต่อโทรศัพท์หรือเต้าเสียบสาย
ขั้นที่ 3: ตรวจสอบการเชื่อมต่อเครือข่ายภายในบ้าน
หากคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตผ่านทางเครือข่ายภายในบ้าน เราขอแนะนำให้คุณตรวจสอบรายการต่อไปนี้ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์
  • การเชื่อมต่อไร้สาย

    หากคอมพิวเตอร์ใช้การเชื่อมต่อไร้สายในเครือข่ายภายในบ้าน เราขอแนะนำให้คุณอ่านบทความต่อไปนี้บนเว็บไซต์ "บริการช่วยเหลือและวิธีการของ Windows Vista":
  • การเชื่อมต่อแบบใช้สาย

    หากคอมพิวเตอร์ใช้การเชื่อมต่อแบบใช้สาย (การเชื่อมต่อแบบนี้เป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่าการเชื่อมต่ออีเทอร์เน็ต) เราขอแนะนำให้คุณอ่านหัวข้อ "ไม่สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายภายในบ้าน” ในบทความ “การแก้ไขปัญหาการเชื่อมต่อเครือข่ายและอินเทอร์เน็ต”: ถ้าคุณต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกำหนดค่าเครือข่ายเฉพาะ การกำหนดค่าฮาร์ดแวร์หรือการกำหนดค่าเครือข่าย เราขอแนะนำให้คุณติดต่อผู้ขายฮาร์ดแวร์เครือข่ายที่คุณใช้

    หมายเหตุ คุณอาจต้องติดต่อกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ของคุณเพื่อตรวจสอบการเชื่อมต่อ

วิธีที่ 4: ปัญหาอื่นๆ ในการเชื่อมต่อหรือที่เกี่ยวข้องกับเครือข่าย

สาเหตุหนึ่งที่เป็นไปได้ของปัญหาการเชื่อมต่อเครือข่ายก็คือ เครือข่ายหรือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่คุณกำลังใช้ทำงานออนไลน์กำลังมีปัญหา ซึ่งคุณสามารถทดสอบได้โดยการทำตามขั้นตอนการแก้ไขปัญหาดังนี้
ขั้นที่ 1 เริ่มการทำงานของโมเด็มหรือเราเตอร์ใหม่
เป็นไปได้ว่า ในบางครั้ง การตั้งค่า IP หรือการกำหนดค่าเครือข่ายที่คุณได้รับจากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ไม่ถูกต้องหรือจำเป็นต้องได้รับการเปลี่ยนแปลง บางครั้ง การเชื่อมต่อระหว่างโมเด็มกับ ISP อาจกำลังมีปัญหา ในการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าโมเด็มหรือเราเตอร์ คุณจะต้องให้อุปกรณ์เริ่มทำงานใหม่ นอกจากนี้ การเริ่มทำงานใหม่ของอุปกรณ์ยังทำให้เกิดการเชื่อมต่อใหม่กับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ให้โมเด็มเริ่มทำงานใหม่ โดยใช้วิธีใดวิธีหนึ่งดังต่อไปนี้ ขึ้นอยู่กับชนิดโมเด็มของคุณ

โมเด็มภายนอก

เพื่อให้โมเด็มภายนอกเริ่มทำงานใหม่ ทำตามขั้นตอนดังนี้
  1. ถอดสายเคเบิลที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรือเราเตอร์กับโมเด็มออก ซึ่งอาจจะเป็นสาย USB หรือเคเบิลเครือข่าย
  2. ปิดโมเด็ม ถ้าโมเด็มไม่มีสวิตช์เปิดปิด ให้ถอดสายไฟออกจากด้านหลังของโมเด็มหรือถอดปลั๊กออกจากผนัง
  3. รอหลายๆ นาที แล้วจึงเปิดโมเด็ม เชื่อมต่อสายเคเบิลจากคอมพิวเตอร์หรือเราเตอร์เข้ากับโมเด็ม แล้วเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่
  4. ทดสอบการเชื่อมต่อของคุณใหม่อีกครั้ง เพื่อดูว่าคุณสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้
หากคุณยังคงประสบปัญหาการเชื่อมต่อเครือข่าย ให้ไปที่ขั้นที่ 2

โมเด็มภายใน

ในการเริ่มทำงานใหม่ของโมเด็มภายใน คุณจะต้องเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ หากคุณยังคงประสบปัญหาการเชื่อมต่อเครือข่ายหลังจากที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่แล้ว ให้ไปที่ขั้นที่ 2
ขั้นที่ 2 ตรวจสอบการตั้งค่าไฟร์วอลล์หรือเราเตอร์
หากคุณเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้เราเตอร์ อาจจะมีปัญหากับการตั้งค่าสำหรับการกำหนดค่า และจะต้องได้รับการเปลี่ยนแปลง การที่จะระบุว่าปัญหาการเชื่อมต่อเครือข่ายเกิดจากการกำหนดค่าผิดหรือปัญหาของเราเตอร์ คุณจะต้องข้ามเราเตอร์และเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์โดยตรงกับโมเด็ม

ข้อควรระวัง การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของคุณโดยตรงเข้ากับอินเทอร์เน็ตอาจมีความเสี่ยงต่อการถูกโจมตี เพื่อป้องกันไม่ให้คอมพิวเตอร์ถูกโจมตี ตรวจดูให้แน่ใจว่าคอมพิวเตอร์ของคุณมีการติดตั้งและเปิดใช้ไฟร์วอลล์ สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับ Windows Firewall ที่รวมอยู่ใน Windows Vista โปรดดูหัวข้อ "Windows Firewall"

Windows Firewall

Windows Vista ประกอบด้วยไฟร์วอลล์ซึ่งเรียกว่า Windows Firewall ซึ่ง Windows Firewall จะถูกเปิดใช้งานตามค่าเริ่มต้น อย่างไรก็ตาม คุณยังต้องตรวจสอบว่า Windows Firewall ถูกเปิดใช้งาน ก่อนที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับอินเทอร์เน็ต ในการตรวจสอบว่า Windows Firewall ถูกเปิดใช้งาน ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
  1. คลิก เริ่ม แล้วคลิก แผงควบคุม
  2. พิมพ์ security ในกล่องค้นหาที่มุมขวาบนของแผงควบคุม
  3. คลิกไอคอนหรือการเชื่อมโยงสำหรับ Security Center ในผลลัพธ์การค้นหาที่ปรากฏขึ้น คุณจะเห็นแถบสี่แถบที่ชื่อ ไฟร์วอลล์การปรับปรุงอัตโนมัติการป้องกันมัลแวร์ และ การกำหนดค่าความปลอดภัยอื่นๆ ในหน้าต่างที่ปรากฏขึ้น
  4. คลิกปุ่มลูกศรขวาบนแถบ ไฟร์วอลล์ เพื่อขยายแถบ แถบที่ขยายจะแสดงตัวเลือกตัวใดตัวหนึ่งในสามตัวดังนี้
    1. ถ้าแถบไฟร์วอลล์มีสีเขียว แสดงว่าไฟร์วอลล์ถูกเปิดใช้งาน
    2. ถ้าแถบไฟร์วอลล์มีสีแดง คุณอาจจะเห็นข้อความที่แสดงว่า Windows Firewall ปิดอยู่ เมื่อต้องการเปิด Windows Firewall และทำให้แถบ ไฟร์วอลล์ ใน Security Center เปลี่ยนเป็นสีเขียว คลิก เปิดเดี๋ยวนี้
    3. ถ้าแถบไฟร์วอลล์มีสีแดงและข้อความอธิบายปัญหากับโปรแกรมไฟร์วอลล์ของบริษัทอื่น เราขอแนะนำให้คุณยกเลิกการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จากเครือข่าย แล้วติดต่อผู้ขายโปรแกรมไฟร์วอลล์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีเปิดโปรแกรมไฟร์วอลล์ของบริษัทอื่น
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Windows Firewall ใน Windows Vista โปรดเยี่ยมชมเว็บไซต์ "บริการช่วยเหลือและวิธีการของ Windows Vista":
  • หากต้องการอ่านบทความ "ไฟร์วอลล์: คำถามที่ถามบ่อย" โปรดเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่อไปนี้ของ Microsoft:
  • หากต้องการอ่านบทความ "อะไรคือไฟร์วอลล์?" โปรดเยี่ยมชมเว็บไซต์ต่อไปนี้ของ Microsoft:
  • สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Windows Firewall อ่านบทความ "Windows Firewall: การเชื่อมโยงที่แนะนำ" ที่เว็บไซต์ต่อไปนี้ของ Microsoft:
  • สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง Windows Firewall และ Windows Security Center ใน Windows Vista ให้คลิกหมายเลขบทความต่อไปนี้ เพื่อดูบทความใน Microsoft Knowledge Base:
    929462 คำอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง Windows Firewall และ Windows Security Center ใน Windows Vista
หลังจากที่คุณเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับโมเด็มโดยตรงแล้ว ให้ทดสอบ Internet Explorer ถ้าคุณสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ที่คุณเคยเข้าถึงได้มาก่อน ติดต่อผู้ผลิตเราเตอร์เพื่อขอความช่วยเหลือในการกำหนดค่าอุปกรณ์ ถ้าคุณยังไม่สามารถเว็บไซต์ใดๆ ได้เลย ให้ไปที่ขั้นที่ 3
ขั้นที่ 3 ตรวจสอบความเข้ากันได้ของอุปกรณ์
ในการที่โมเด็มหรือการ์ดเชื่อมต่อเครือข่ายจะทำงานได้อย่างถูกต้องบน Windows Vista อุปกรณ์นั้นจะต้องเข้ากันได้กับ Windows Vista นอกจากนี้ ยังต้องมีโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ที่ Windows Vista สามารถใช้ได้เพื่อสื่อสารกับอุปกรณ์นั้น เพื่อดูว่าโมเด็มหรือการ์ดเชื่อมต่อเครือข่ายที่ใช้กันได้กับ Windows Vista คุณจะต้องระบุก่อนว่าคุณมีการ์ดรุ่นใดในคอมพิวเตอร์ โดยให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้:
  1. คลิก เริ่ม, พิมพ์ device manager ในกล่อง การค้นหา แล้วกด ENTER
  2. คลิกรายการสำหรับ ตัวจัดการอุปกรณ์ ที่ปรากฏขึ้นในผลลัพธ์การค้นหา
  3. ขยายรายการสำหรับชนิดอุปกรณ์ที่กำลังมองหา ตัวอย่างเช่น ขยาย การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย

    หมายเหตุ ชนิดของอุปกรณ์ที่คุณมองหาจะถูกกำหนดด้วยวิธีที่คุณเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับอินเทอร์เน็ต ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตด้วยการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบไร้สาย คุณจะต้องหาข้อมูลเกี่ยวกับการ์ดเชื่อมต่อเครือข่ายแบบไร้สาย และคุณจะต้องขยายการ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย
  4. ให้สังเกตรายการที่ปรากฏขึ้นภายใต้ การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย
  5. เริ่ม Internet Explorer ในคอมพิวเตอร์อีกเครื่อง
  6. พิมพ์ที่อยู่ต่อไปนี้ แล้วกด ENTER:
    http://whql.microsoft.com/hcl/
  7. ค้นหาการ์ดเชื่อมต่อเครือข่ายที่คุณสังเกตไว้ในขั้นที่ 4 ข้อมูลที่มีอยู่บนเว็บไซต์นี้จะบอกให้ทราบว่าการ์ดเชื่อมต่อเครือข่ายของคุณเข้ากันได้กับ Windows Vista หรือไม่
ถ้าคุณไม่สามารถระบุชนิดโมเด็มหรือการ์ดเชื่อมต่อเครือข่ายที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์ของคุณ หรือถ้าอุปกรณ์แสดงว่ากำลังมีปัญหา เราขอแนะนำให้คุณติดต่อ OEM หรือผู้ขายฮาร์ดแวร์ที่คุณซื้อการ์ดดังกล่าว 

สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ โปรดไปที่เว็บไซต์ต่อไปนี้:
ถ้าอุปกรณ์ที่กำลังมองหาเป็นโมเด็ม DSL ภายในหรือเคเบิลโมเด็มภายใน เราขอแนะนำให้คุณติดต่อผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ให้โมเด็มนั้นมา ปัญหาที่คุณอาจพบได้มีดังนี้
  • ไม่มีโมเด็มหรือการ์ดเชื่อมต่อเครือข่ายใน ตัวจัดการอุปกรณ์
  • โมเด็มหรือการ์ดเชื่อมต่อเครือข่ายแสดงเป็น อุปกรณ์ที่ไม่รู้จัก หรือแสดงด้วยชื่อทั่วไปเช่น Ethernet Adapter หรือ PCI Simple Communications Controller
  • โมเด็มหรือการ์ดเชื่อมต่อเครือข่ายมีเครื่องหมาย X สีแดงหรือเครื่องหมายตกใจสีเหลือง
หากคุณยังคงประสบปัญหาการเชื่อมต่อเครือข่ายหลังจากที่ตรวจสอบแล้วว่าโมเด็มหรือการ์ดเชื่อมต่อเครือข่ายเข้ากันได้กับ Windows Vista และมีการติดตั้งโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์ล่าสุด ให้ไปที่ขั้นที่ 4
ขั้นที่ 4 สร้างจุดคืนค่าของระบบก่อนที่จะเริ่มต้นโปรโตคอล Winsock ใหม่
ข้อสำคัญ ก่อนที่คุณจะทำตามขั้นตอนที่อธิบายไว้ในหัวข้อ "เริ่มต้นโปรโตคอล Winsock ใหม่" เราขอแนะนำให้คุณใช้เครื่องมือ System Restore ใน Windows Vista เพื่อสร้างจุดคืนค่าบนคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำให้คอมพิวเตอร์ย้อนกลับไปสู่จุดก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในกรณีที่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาใหม่

สร้างจุดคืนค่าของระบบ

สำหรับการสร้างจุดคืนค่าของระบบด้วย System Restore ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
  1. คลิก เริ่ม คลิกขวา คอมพิวเตอร์ แล้วคลิก คุณสมบัติ
  2. คลิก การป้องกันระบบ ในบานหน้าต่างงาน หากคุณถูกถามให้ระบุรหัสผ่านของผู้ดูแลระบบหรือให้ยืนยัน ให้พิมพ์รหัสผ่าน หรือคลิกดำเนินการต่อ
  3. คลิก สร้าง ที่มุมขวาล่างของกล่องโต้ตอบ คุณสมบัติของระบบ
  4. พิมพ์ชื่อที่เหมาะสมในกล่องโต้ตอบ คุณสมบัติของระบบ ตัวอย่างเช่น พิมพ์ คอมพิวเตอร์ก่อนการเปลี่ยนแปลงของเครือข่าย แล้วคลิก สร้าง
  5. ในทันทีที่จุดคืนค่าถูกสร้างเรียบร้อยแล้ว ข้อความเตือนต่อไปนี้จะถูกแสดงขึ้น
    จุดคืนค่าถูกสร้างขึ้นเรียบร้อยแล้ว
  6. คลิก ตกลง สองครั้ง
เริ่มต้นโปรโตคอล Winsock ใหม่

สาเหตุที่เป็นไปได้อีกประการหนึ่งของปัญหาการเชื่อมต่อเครือข่ายคือ การกำหนดค่าผิดหรือความเสียหายของโปรโตคอล Winsock บนคอมพิวเตอร์ โปรโตคอลนี้ใช้โดย Windows ในการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นและเข้าถึงทรัพยากรบนอินเทอร์เน็ต เช่น อีเมลและเว็บไซต์ ถ้ามีปัญหากับ Winsock, Windows Vista จะไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้อีก 

ข้อควรระวัง โปรแกรมที่เข้าใช้งานหรือตรวจสอบอินเทอร์เน็ต เช่น โปรแกรมป้องกันไวรัส โปรแกรมไฟร์วอลล์หรือไคลเอนต์พร็อกซี่ อาจได้รับผลกระทบในทางลบ เมื่อคุณเริ่มการกำหนดค่าโปรโตคอล Winsock ใหม่ หากคุณมีโปรแกรมที่ทำงานไม่ถูกต้องหลังจากที่ทำตามขั้นตอนเหล่านี้ คุณอาจต้องยกเลิกการติดตั้งและติดตั้งโปรแกรมใหม่เพื่อคืนการทำงาน หรือคุณอาจต้องซ่อมแซมโปรแกรมโดยใช้โปรแกรมติดตั้งของโปรแกรมประยุกต์

หลังจากสร้างจุดคืนค่าสำเร็จแล้ว ให้เปลี่ยนการกำหนดค่าโปรโตคอล Winsock กลับสู่การตั้งค่าเริ่มต้น ถ้าต้องการให้เราตั้งค่าการกำหนดค่าโปรโตคอล Winsock ใหม่ให้กับคุณ ไปที่ส่วน "แก้ไขปัญหาให้ฉัน" ถ้าคุณต้องการทำด้วยตนเอง ให้ไปที่ส่วน "ให้ฉันแก้ปัญหาเอง"

วิธีที่ 5: การแก้ปัญหาอัตโนมัติใน Windows 7

การใช้ตัวแก้ไขปัญหาของ Windows 7
ตามค่าเริ่มต้น Windows 7 รวมถึงตัวแก้ไขปัญหาต่อไปนี้ของ Internet Explorer สำหรับการติดตั้งใหม่
  • Internet Explorer Performance
  • Internet Explorer Safety
เรียกใช้ตัวแก้ไขปัญหาของ Internet Explorer
  1. ออกจากโปรแกรมทั้งหมด
  2. คลิก เริ่ม แล้วคลิก แผงควบคุม
  3. คลิก ค้นหาและแก้ไขปัญหา ภายใต้ ระบบและความปลอดภัย
  4. คลิก ดูทั้งหมด ในบานหน้าต่าง งาน
  5. คลิก Internet Explorer Performance
  6. คลิก ถัดไป ในหน้าต่างใหม่
    หมายเหตุ ตัวแก้ไขปัญหาทำงานและแก้ไขปัญหาที่ได้รับการระบุทั้งหมดอย่างอัตโนมัติ
  7. คลิก ปิด